ว่าด้วยเครื่องดื่มที่เรียกว่าเบียร์
- 26 กุมภาพันธ์ 2560
- 34,423
ว่าด้วยเครื่องดื่มที่เรียกว่าเบียร์
'เบียร์' เป็นเครื่องดื่มยอดฮิตที่หลายๆ คนชอบ เพราะด้วยเอกลักษณ์เฉพาะของมันทั้งในเรื่องของกลิ่นและรสชาติเลยทำให้มีคนติดใจเป็นเครื่องดื่มโปรดติดตู้เย็นเลยทีเดียว แต่จะมีสักกี่คนที่รู้ว่าเบียร์ที่ดื่มๆ กันอยู่นั้นมันแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ
'เบียร์' เป็นเครื่องดื่มยอดฮิตที่หลายๆ คนชอบ เพราะด้วยเอกลักษณ์เฉพาะของมันทั้งในเรื่องของกลิ่นและรสชาติเลยทำให้มีคนติดใจเป็นเครื่องดื่มโปรดติดตู้เย็นเลยทีเดียว แต่จะมีสักกี่คนที่รู้ว่าเบียร์ที่ดื่มๆ กันอยู่นั้นมันแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ คือ
Ales - เบียร์ชนิดนี้ใช้อุณหภูมิ 10-15 องศาเซลเซียสในการหมัก จะมีสีเข้ม รสชาติเข้มข้น
Lager - ส่วนเบียร์ชนิดนี้ใช้อุณหภูมิประมาณ 5 องศาเซลเซียสในการหมัก สีที่ออกมาจะใสกว่าแบบแรก และเบียร์ชนิดนี้คือแบบที่แบรนด์เบียร์ดังๆ ผลิตออกมาขายนั่นเอง ว่าด้วยเรื่องความแตกต่างของหน้าตาไปแล้ว
ในด้านของการผลิตเบียร์ก็ยังมีการจำแนกแบ่งไปอีกว่าเป็นแบบไหน
MacroBrews - คือเบียร์ที่ผลิตโดยเครื่องจักร ซึ่งจะได้สินค้าออกมาจำนวนมากในการผลิตแต่ละครั้ง ซึ่งแบรนด์เบียร์ในปัจจุบันต่างก็ใช้วิธีการผลิตแบบนี้กันอย่างแพร่หลาย เพราะการันตีได้ว่ารสชาติจะมีมาตรฐานเท่ากันทุกขวด
MicroBrews - การผลิตเบียร์วิธีนี้มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า Craft Beer ที่กำลังฮิตๆ กันนั่นเอง ซึ่งการผลิตวิธีนี้จะผลิตกันในถัง ทำได้ในปริมาณไม่มาก แต่ก่อนในต่างประเทศเน้นทำดื่ม หรือขายกันเองในชุมชน แต่ยุคปัจจุบันนี้มีร้านอาหารในประเทศไทยก็ได้เอาวิธีผลิตเบียร์แบบนี้เข้ามาเป็นเครื่องดื่มกันบ้างแล้วเหมือนกัน
ด้วยความที่กระแสของ Craft Beer กำลังมาแรงในบ้านเรา คอเบียร์ทั้งหลายก็น่าจะรู้ถึงส่วนผสมกันซะหน่อยว่าเบียร์นั้นมันมีส่วนประกอบอะไรกันบ้าง แต่อย่าเพิ่งเข้าใจผิดว่าเราจะชวนมาหมักเบียร์ไว้กินเองในบ้านจนเมาหัวราน้ำกันซะล่ะ เพราะมันยังผิดกฏหมายในบ้านเรา แค่รู้ไว้ประดับความรู้ก็พอ
1.น้ำ สิ่งนี้คือส่วนประกอบหลักถึง 90% ในการทำเบียร์เลยล่ะ และน้ำแต่ละที่ก็ยังส่งผลให้รสชาติเบียร์แตกต่างกันออกไปได้อีกด้วย
2.ฮอบส์ ถ้าไม่มีสิ่งนี้ก็ไม่สามารถทำเครื่องดื่มที่เรียกว่าเบียร์ได้เลยจริงๆ มันคือดอกไม้ชนิดหนึ่งที่มีกลิ่นเป็นเอกลักษณ์ ซึ่งกลิ่นของเบียร์ที่เราได้กลิ่นกันนั้น ที่จริงแล้วมันคือกลิ่นของเจ้านี่นั่นเอง
3.มอล์ตและยีสต์ มอลต์คือตัวทำให้เกิดน้ำตาลที่เป็นอาหารให้ยีสต์สามารถกินได้ เมื่อยีสต์กินน้ำตาลเข้าไปแล้วจะเปลี่ยนเป็นแอลกอฮอล์ให้แก่เบียร์(ตัวการทำให้เมานั่นเอง) รวมถึงทำให้เกิดฟองอีกด้วย
4.ส่วนผสมพิเศษอื่นๆ เช่น ผลไม้ หรืออะไรที่มีกลิ่นหอมๆ เพื่อสร้างเอกลักษณ์และรสชาติเฉพาะให้แก่เบียร์ตามต้องการ
รู้ถึงชนิด วิธีการผลิต และส่วนประกอบของเบียร์กันไปแล้ว ขอส่งท้ายด้วยเทคนิคการกินเบียร์ให้อร่อย (กว่าเดิม) ละกัน
1. การเก็บรักษาเบียร์ที่ถูกต้องนั้นควรเก็บไว้ในอุณหภูมิระหว่าง 4.5 - 21 องศาเซลเซียส และหลีกเลี่ยงแสงแดด
2. ไม่ว่าจะเป็นเบียร์ขวดหรือกระป๋อง ซื้อมาแล้วก็ไม่ควรเก็บไว้นานๆ ควรดื่มให้หมดภายใน 3 - 4 เดือนนับจากวันผลิต เพื่อป้องกันกลิ่นและรสที่จะเสียไป หรืออาการเบียร์จืดนั่นเอง
3. ถึงเมืองไทยเป็นเมืองร้อนก็ไม่ควรดื่มเบียร์ใส่น้ำแข็ง แนะนำให้เอาแก้วและเบียร์ไปแช่เย็นก่อนดื่มจะได้รสชาติที่เต็มกว่า
4. ถ้าเบียร์ที่เราดื่มนั้นมีกลิ่นหอม ก็ควรจะดื่มในแก้วปากกว้างทรงทิวลิป เพราะตอนยกดื่มกลิ่นของเบียร์จะตีเข้าจมูกเราได้มากขึ้น ยิ่งฟินกว่าเดิม
5. อาหาร และปริมาณแอลกอออล์ของเบียร์นั้น ควรดื่มให้สัมพันธ์กัน เช่น เบียร์แอลกอฮอล์ต่ำ ก็ควรดื่มคู่กับอาหารเบาๆ อย่างสลัด หรือเมนูเรียกน้ำย่อยต่างๆ ถ้าเบียร์แอลกอฮอล์สูง ก็ควรดื่มคู่กับอะไรหนักๆ อย่างสเต็ก หรืออาหารรสจัดๆ
หวังว่าคอเบียร์ทั้งใหม่และไม่ใหม่คงจะได้ความรู้เกี่ยวกับเบียร์กันไปไม่น้อย และจะสนุกกับการดื่มเบียร์ที่อร่อยมากกว่าที่เคยนะครับ
ขอบคุณข้อมูลดีๆ จากเพจ ขายเบียร์ Hoegarrden