Soil and Stones, Souls and Songs
- 26 กรกฏาคม 2560
- 6,209
หอศิลป์บ้านจิม ทอมป์สัน คาดิสต์ และพารา ไซต์ สนับสนุนโดย สถานเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสประจำประเทศไทย ยินดีนำเสนอ Soil and Stones, Souls and Songs นิทรรศการสัญจรสำคัญชุดใหม่ คัดสรรขึ้น ขึ้นบนพื้นฐานของสายสัมพันธ์ ความตึงเครียด และเรื่องเล่าที่พบเห็นได้จากความเป็นจริงในปัจจุบัน
จากการผลิตเชิงศิลปะวัฒนธรรม และจากแนวคิดร่วมสมัยในเขตเอเชีย และพื้นที่อื่นๆ โดย คอสมิน คอสตินาส และอินทิ เกเรโร่ ด้วยการวางโครงสร้างทางความคิดบนกระบวนการปฏิบัติทางศิลปะ การผลิตงานศิลปะขึ้นใหม่ และกรณีศึกษาต่างๆ ซึ่งคัดสรรโดย วู ลี, ฉวู ฉาง และไซม่อน ซูน และได้ทดลองกับรูปแบบ รวมถึงกระบวนการสร้างงานทั้งอย่างตรงไปตรงมา
หรือโดยเชิงสัญลักษณ์ในประเด็นเนื้อหาต่างๆ อย่างกว้างขวาง เช่น การเปลี่ยนถ่ายเชิงการเมือง โครงสร้างทางสังคม ความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์ และการคุกคามสภาพแวดล้อม เป็นต้น ประเด็นเหล่านี้ สามารถสืบย้อนต้นตอกลับไปยังพลังที่สั่นสะเทือนโลกไปในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา ซึ่งเอเชียอยู่ในแนวหน้าของการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว นิทรรศการสัญจร ณ หอศิลป์บ้านจิม ทอมป์สันในครั้งนี้ ปรับแปลงจากเมื่อครั้งที่ นำเสนอณ พิพิธภัณฑ์ศิลปะร่วมสมัย และงานออกแบบ มะนิลา และพาราไซต์ ฮ่องกง
พลังของตลาดโลกที่ระเบิดออกมาในภูมิภาคเอเชียได้ปรับเปลี่ยนรูปแบบของการผลิต แรงงาน ภูมิทัศน์และสภาพแวดล้อม รวมถึงโครงสร้างทางสังคมอย่างกว้างขวางไปทั่วภูมิภาค ความวิตกกังวลของโลกใหม่ และความทะเยอทะยานในการแข่งขันกันในสังคมที่โดนแปลงโฉมใหม่นี้ กำลังใฝ่หาจินตนาการถึงรูปแบบใหม่ๆ ทางการเมือง ถึงความคิดใหม่ๆ ที่จะช่วยสร้างความหมายและแนวทางในการเปลี่ยนแปลงความเป็นจริงในการใช้ชีวิตอยู่ในภูมิภาคนี้ ความคิดเหล่านี้ที่ส่วนใหญ่พยายามวางตัวเองลงในตำแหน่งขั้วตรงข้ามในประชาธิปไตยแบบเสรีนิยม มักถูกมองว่าเป็นแนวคิดที่นอกคอก กระทั่งไม่อยู่ในมาตรวัดของความเป็นสมัยใหม่แบบตะวันตก
บ่อยครั้งพัฒนาไปเป็นงานที่เกิดขึ้นบนฐานของอุดมการณ์ทางความคิดแบบผสมผสานและซับซ้อน อย่างไรก็ดี งานเหล่านี้ ซึ่งในหลายกรณีต่อยอดมาจากการต่อสู้ดิ้นรนกับการต่อต้านอาณานิคม และจากกระบวนการสร้างชาติในยุคหลังอาณานิคม เป็นการปรับแปลงครั้งล่าสุดต่อการฟื้นคืนชีพของภูมิภาค และต่อสิ่งที่อาจมองได้ว่ากำลังเป็นวิกฤตการณ์ในโลกตะวันตก ในแง่นี้เอง กล่าวได้ว่ามีเส้นโยงใยแนวคิดที่ดูต่างกันสิ้นเชิง ระหว่างลัทธิขงจื๊อใหม่ที่กำลังถูกรื้อฟื้นโดยพรรคคอมมิวนิสต์จีน เข้ากับแนวคิดใหม่ถึงความหมายของการเป็นชนพื้นถิ่นในทั่วทุกภูมิภาคที่เคยตกเป็นเมืองอาณานิคม ตั้งแต่เมลานีเซียไปจนถึงอเมริกา ซึ่งก้าวผ่านสิ่งที่ดูเป็นมากกว่าเพียงแค่การฟื้นคืนของลัทธิชาตินิยมในหลายประเทศทั่วโลก
ปรากฏการณ์หลังนี้เอง ที่เป็นตัวเร่งให้เกิดการตกผลึกในการชำระประเด็นทางประวัติศาสตร์และตำนาน (ทั้งของชุมชนต่างๆ และของโลกเอง) เมื่อต้องเผชิญหน้ากับความท้าทายทั้งในเชิงประวัติศาสตร์ และเชิงนิเวศน์ ซึ่งได้นำไปสู่ความวิตกกังวลที่โลกกำลังเผชิญ อย่างไรก็ดี ความหวาดกลัวนี้ไม่เพียงเกิดขึ้นในเอเชีย การแสวงหาพื้นที่อันสมบูรณ์ในโลกยิ่งชัดเจนขึ้นจากการสูญเสียความแน่นอน จากความวิตกกังวลในการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์ในยุคหลังอาณานิคมและยุคหลังสงครามเย็น และจากความยากลำบากและความโหดร้ายที่บ่อยครั้งมาพร้อมกับการเปลี่ยนแปลงของรูปแบบทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรมแบบดั้งเดิม
นิทรรศการศิลปะจะส่งผ่านความซับซ้อนนี้ออกไปได้อย่างไร รูปแบบ วัตถุ และสาระของงานศิลปะ จะแปลบริบทความวิตกกังวลที่เรากำลังชี้ให้เห็นนี้ได้อย่างไร ขอบเขตของความซับซ้อนอันไม่สิ้นสุดในภูมิภาคของเราจะถูกแปลออกมาอย่างไร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อพูดถึงความความซับซ้อนในการนิยามวัตถุและภาพของจีนที่เป็นศูนย์กลางของประเด็นต่างๆ เหล่านี้ นิทรรศการนี้พยายามตอบคำถามต่างๆ ผ่านสายสัมพันธ์ที่เกี่ยวเนื่องกัน และผ่านกรณีศึกษาแยกเดี่ยวต่างๆ ที่เมื่อรวมกันสร้างมุมมองที่หลากหลายต่อเรื่องของเรา
นอกจากนี้ นิทรรศการยังให้ความสำคัญกับศัพท์เชิงสุนทรียศาสตร์และการสืบหาความเป็นสมัยใหม่แบบไม่ตะวันตก ว่าถูกสะท้อนออกมาอย่างไรในการอ้างอิงรูปแบบทางศิลปะที่ศิลปินในแต่ละรุ่นจากแต่ละพื้นที่ทางภูมิศาสตร์เลือกใช้ในกระบวนการสร้างงาน ในขณะที่เรื่องราวจำนวนไม่น้อยสืบย้อนต้นกำเนิดได้ในภูมิภาคเอเชีย นิทรรศการนี้ยังพยายามทำความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในภูมิภาคนี้ ด้วยการสืบค้นต้นตอกลับไปหาเสียงและเงาสะท้อนที่อยู่นอกเหนือฟากฝั่งทวีปออกไป ไม่ว่าจะใกล้หรือไกล
นิทรรศการ Soil and Stones, Souls and Songs คัดสรรผลงานโดย คอสมิน คอสตินาส และ อินทิ เกเรโร่ เริ่มจัดแสดงตั้งแต่วันที่ 15 กรกฎาคม ถึงวันที่ 31 ตุลาคม 2560 นิทรรศการกลุ่มแสดงผลงานศิลปะโดย: ตาเร็ค อาตุย / มาเรียน่า กาสติโย่ เดบาล / จิมมี่ เดอแรม / ซุไลมาน เอซา / เอ็ดการ์ เฟร์นันเดซ / เมชัค กาบา / ซิมริน กิล / อิยอน กริกอเรสคู / ตาลอย ฮาวินิ / โหว ซิว-กี / เจมส์ ที. หง / ฮ่องกง ฟาร์ม / ปีเตอร์ เคนเนดี้ & จอห์น ฮิวจ์ / เจน จินไคเซง / คยองแมน คิม / โซยัง คิม / จอง คิม / โอเชียน เหลียง / ลี่ ปินหยวน / หลี่ หราน / โฆเซ่ มาเซดา / ประภาการ์ พัชปุเต / ปรัชญา พิณทอง / เรดซา ปิยาดาสา / โร แจ อึน / รีตู สัตตาร์ / ชิตะมิจิ โมโตยูกิ / จุฬญาณนนท์ ศิริผล / วอลเตอร์ สเมทาค / สุทธิรัตน์ ศุภปริญญา / ชึง คอง ตุง / แฮก หยาง / เทรเวอร์ ยัง / โตกุลดูร์ ยอนโดนัมทส์
หอศิลป์ เปิดให้บริการตั้งแต่เวลา 9.00 น. ถึง 20.00 น. เข้าชมได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย
ข้อมูลเพิ่มเติมโทรศัพท์: 02-612-6741
อีเมล: artcenter@jimthompsonhouse.com
เว็บไซต์: www.jimthompsonartcenter.org
เฟซบุ๊ก: the Jim Thompson Art Center