DIOR #SS19
• Spring/Summer 2019
- 14 มิถุนายน 2562
- 13,297
Dior By Dior ในหนังสืออัตชีวประวัติของเขา คริสเตียน ดิออร์ (Christian Dior) ได้ให้เหตุผลไว้เองว่าชื่อดิออร์นี้ประกอบด้วยสองส่วนด้วยกัน นั่นคือ ดิออร์ผู้ชาย และดิออร์ที่เป็นตำนาน อย่างหลังก็คือห้องเสื้อคริสเตียน ดิออร์ ซึ่งถือกำเนิดขึ้นในปี 1947 และอย่างแรกคือตัวเมอร์ซิเออร์ดิออร์นั่นเอง
สำหรับคอลเลคชั่นเปิดตัวแรกของเขาในฐานะอาร์ทิสติกไดเร็กเตอร์ของ Dior Men คิม โจนส์ (Kim Jones) เลือกที่จะนำความเป็นเมอร์ซิเออร์ดิออร์ มาตีความ ผ่านภาษาของห้องเสื้อชั่นสูงที่เขาได้สร้างสรรค์ขึ้น
คอลเลคชั่นนี้ถือเป็นการสดุดีสองสิ่งในเวลาเดียวกัน – ความเป็นจริงของดิออร์ และ จินตนาการของดิออร์ คอลเลคชั่นซึ่งได้แรงบันดาลใจจากชีวิตส่วนตัว และความคิดสร้างสรรค์ของดิออร์ นี้ เปรียบเสมือนตัวแทนของบทสนทนาระหว่างบุคลิกทั้งสองด้านของเขา ผลงานกูตูร์มอบแรงบันดาลใจให้กับองค์ความรู้ และกำหนดการเลือกใช้วัสดุ
โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับห้องเสื้อดิออร์ ผ่านการใช้ผ้าทวอล เดอ ชุย (Toile de Jouy) ซึ่ง ถูกใช้ที่บูติคแห่งแรกซึ่งตั้งอยู่ที่ เลขที่ 30 อะเวนิวมองเตนจน์ ตกแต่งโดยวิคเตอร์ กรองด์ปิแอร์ (Victor Grandpierre) ในปี 1947 โลโก้ใหม่ของดิออร์ซึ่งได้แรงบันดาลใจจากผลงานตกทอดเก่าแก่นี้ ปรากฏในรูปของผ้าแจ็คการ์ดและงานปักบนวัสดุอันหลากหลาย ทั้งผ้าตูลย์และหนัง หรือทำขึ้นด้วยขนนก
การนำตัวตนและจิตวิญญาณของความเป็นกูตูร์ที่เต็มไปด้วยความเป็นผู้หญิงมาถ่ายทอดในบริบทสำหรับสุภาพบุรุษนั้น ยังผลให้ได้ผลงานเสื้อผ้าที่เบาลง พร้อมช่วงไหล่กลมมน และรูปทรงที่ผ่อนคลายมากยิ่งขึ้น ฮูดแบบมีผ่าถูกเสริมลงไปที่ด้านหลังของเสื้อเชิร์ตเพื่อเผยให้เห็นช่วงต้นคอ เสื้อแจ็คเก็ตดิออร์ใหม่ ‘the Tailleur Oblique’ ห่อหุ้มร่างกายในแนวทแยง แสดงให้เห็นถึงอิทธิพลที่ได้จากรูปทรงของคอลเลคชั่นฤดูใบไม้ร่วง-ฤดูหนาว 1950 ซึ่งเมอร์ซิเออร์ดิออร์ออกแบบ โดยแจ็คเก็ตนี้ทำขึ้นด้วยแคชเมียร์ที่เบาราวขนนก
และโมแฮร์สำหรับช่วงฤดูร้อน ตลอดจนผ้าวูลอังกฤษซึ่ง คริสเตียน ดิออร์ ชอบใส่เป็นการส่วนตัว และนำมาสรรสร้างให้กับลูกค้าของเขา โดยคิม โจนส์ได้ผสมผสานประเพณีเก่าแก่เข้ากับความทันสมัยได้อย่างลงตัว และผสมผสานแรงบันดาลใจจากที่ต่าง ๆ เข้าด้วยกัน ทั้งผลงานโอตกูตูร์ และสปอร์ตแวร์ เพื่อให้เป็นตัวแทนของความเป็นชายในแบบร่วมสมัยลายดอกเป็นสิ่งที่ปรากฏให้เห็นอยู่บ่อยครั้ง มันสะท้อนให้เห็นถึงความรักที่เมอร์ซิเออร์ดิออร์มีต่อธรรมชาติ
และลาย ‘Femmes-Fleurs’ ซึ่งถูกวาดขึ้นจากเครื่องกระเบื้องพอร์ซเลนส่วนตัวของเขา แต่ขณะเดียวกันก็ได้รับการปรับรูปทรงให้เข้ากับลวดลายร่วมสมัย เหมาะสำหรับการพิมพ์ลายและงานปัก งานปักขนนกโดยเลอมาริเย (Lemarié) ถูกมานำวางซ้อนกับไวนิล จนได้เอฟเฟ็คที่สะท้อนถึงงานเคลือบของเครื่องกระเบื้องเนื้อโบนไชน่า ทั้งนี้ เครื่องกระเบื้องพอร์ซเลนยังมอบแรงบันดาลใจให้กับเฉดสีของคอลเลคชั่นนี้ ซึ่งในทางกลับกัน ก็สะท้อนถึงภูมิหลังจากยุคเอ็ดวอร์เดียนของเมอร์ซิเออร์ดิออร์ ตลอดจนความหลงใหลที่เขามีต่อคริสตวรรษที่ 18 สีฟ้า ขาว
และชมพูอ่อนของบ้านวัยเด็กของเขาที่กรองด์วีลล์ และสีเทาอันเป็นสัญลักษณ์ของดิออร์ ส่วนการสอดแทรกไว้ด้วยสีเหลือง-ทองอันสดใสนั้นสะท้อนถึงคำจำกัดความของดิออร์ที่ชอง กอคโต (Jean Cocteau) กล่าวไว้ว่า “อัจฉริยะแห่งยุคสมัยของเราผู้แสนจะคล่องแคล่วว่องไวผู้นี้ ในชื่อของเขาเองนั้นก็มีคำว่า ‘dieu’ (เทพเจ้า) และ ‘or’ (ทอง) ประกอบอยู่ด้วย”
คอลเลคชั่นฤดูร้อน 2019 ยังได้อิทธิพลจากสิ่งที่เป็นส่วนตัวและใกล้ชิดมาก ซึ่งต้องถือเป็นเรื่องราวหน้าหนึ่งของประวัติของเมอร์ซิเออร์ดิออร์ที่ถูกเก็บซ่อนไว้เป็นความลับ นั่นก็คือ บ๊อบบี้ (Bobby) สุนัขของเขาซึ่งเป็นแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์ขวดน้ำหอม Miss Dior Perfume ในแบบลิมิเต็ดเอดิชั่น และเป็นที่มาของชื่อชุดสูทในคอลเลคชั่นฤดูใบไม้ร่วง-ฤดูหนาว 1948 และเป็นที่มาของลายอันแสนชาญฉลาดที่ปรากฎอยู่บ่อยครั้ง
สำหรับจิวเวลรีนั้นมาพร้อมกับโลโก้ใหม่ที่มีที่มาจากโลโก้ดั้งเดิมที่ครอบครัวดิออร์เคยใช้ในการทำธุรกิจของครอบครัวในช่วงทศวรรษที่ 1920s ส่วนลายปักเองได้จากการประกาศข่าวการเกิดของคริสเตียน ดิออร์ในปี 1905 ทั้งนี้ แนวคิดแบบแอปสแตรคที่ด้านในยังสร้างแรงบันดาลใจให้กับเทคนิคอันน่าสนใจ ในรูปแบบของแจ็คเก็ตที่เหมือนถูกกลับด้านเพื่อเผยให้เห็นถึงงานบุซับในลายทาง และการวางซ้อนผ้าออร์แกนซา ทั้งไหม และเทคนิคัล สปอร์ตแวร์ ออร์แกนซา ซึ่งทำให้สามารถเผยให้เห็นด้านในได้ โดยเทคนิคเหล่านี้ช่วยแปลงโฉมให้เสื้อผ้ากลายมาเป็นผลงานเพื่อสดุดีองค์ความรู้ของงานตัดเย็บชั้นสูงหรือกูตูร์นั่นเอง
ในส่วนของเครื่องประดับมีที่มาจากผลงานตกทอดอันโดดเด่นของดิออร์ ซึ่งรวมถึงกระเป๋า ‘Saddle’ อันโด่งดังที่ได้รับการนำมาปรับโฉมเป็นครั้งแรกสำหรับสุภาพบุรุษ โดยมีให้เลือกในรูปทรงแบบสะพายข้าง เป้แบ็คแพ็ค และในสไตล์กระเป๋าคาดเอว นอกจากนี้ ยังได้ถูกปรับมาเป็นส่วนหนึ่งของเสื้อผ้า ในรูปแบบของกระเป๋าเสื้อบนเสื้อแจ็คเก็ตหนังจากฐานข้อมูลของดิออร์
งานปักซึ่งเป็นอีกหนึ่งเวอร์ชั่นของผ้า ‘Toile de Jouy’ ปรากฎอยู่บนสินค้าเครื่องหนัง ตลอดจนลายหลักที่เป็นที่รู้จักกันดีของดิออร์อื่น ๆ อาทิ ลาย ‘The Cannage’ ที่ได้รับการเลเซอร์คัตลงบนหนัง ของดิออร์ใน และ ‘the Dior Oblique Canvas’ ในโทรสีแบบไตรคัลเลอร์ใหม่ที่แตกต่างไปจากเดิม
คริสเตียน ดิออร์ ได้กล่าวไว้เองว่าตัวตนของเขาในฐานะกูตูริเยต์นั้นไม่ใช่แค่คนๆ เดียว แต่คนหลาย ๆ คนที่ประกอบกันเข้าด้วยกัน คิม โจนส์เองก็ได้แรงบันดาลใจจากสำนึกแห่งการเป็นชุมชนสำหรับผลงานเปิดตัวชิ้นแรกของเขา ยูน ออฟ แอมบุช (Yoon of Ambush) ได้สร้างสรรค์จิวเวลรี โดยใช้ตราดิออร์ อาทิ ‘CD’ ในแบบนีโอคลาสสิค ดอกไม้และแมลง แมธธิว วิลเลียมส์ (Matthew Williams) เป็นผู้ออกแบบหัวบัคเคิลโลหะใหม่
ซึ่งปรากฏอยู่บนเครื่องประดับหลายชิ้น สตีเฟน โจนส์ (Stephen Jones) ได้สร้างสรรค์หมวกที่มีที่มาจากหมวก ‘Christian Dior Monsieur’ จากฐานข้อมูลของห้องเสื้อดิออร์ คอส์ (Kaws) ศิลปินดัง ได้สร้างสรรค์เซ็นเตอร์พีซของโชว์ โดยใช้ตัวละคร BFF ที่เป็นที่รู้จักของเขา ตกแต่งด้วยกุหลาบทั้งหมด
และในฐานะอวตารของคริสเตียน ดิออร์ ถือขวดน้ำหอม Bobby Perfume นอกจากนี้ ยังมีผลงานการออกแบบรูปผึ้งของคอส์ อันถือเป็นตราสัญลักษณ์ของ Dior Men ซึ่งปรากฏอยู่ในคอลเลคชั่น ทั้งในรูปแบบงานปัก และงานพิมพ์ที่เป็นเอกลักษณ์ สะท้อนถึงการสังเกตของเมอร์ซิเออร์ดิออร์ที่ว่า “คุณไม่มีวันทำผิดไปได้ ถ้าคุณทำตามธรรมชาติ”
ที่นี่ แรงบันดาลใจนั้นมาจากทั้งโลกแห่งธรรมชาติ และธรรมชาติของดิออร์เอง ซึ่งผลที่ได้คือไม่ใช่ลุคใหม่ ๆ เท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงมุมมองใหม่ ๆ ด้วย