CELINE #FW19
• Winter 2019
- 13 พฤศจิกายน 2562
- 26,098
เขาได้ออกเดินทางจากแคลิฟอร์เนียกลับไปยังประเทศอังกฤษเมื่อต้นเดือนเดือนพฤษภาคมปีที่ผ่านมา หลังจากได้ใช้ชีวิตอยู่ที่กรุงลอนดอนตั้งแต่ปี 2553 เขาได้หลงใหลในการบันทึกภาพบรรยากาศการแสดงดนตรีอินดี้ จนเกิดความผูกพันกับประเทศอังกฤษโดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านดนตรี
ในช่วงเวลานั้นเป็นช่วงเวลาที่กระแสดนตรีประเภทนิวเวฟ (NEW WAVE) และโพสต์พังก์ (POST PUNK) กลับมามีอิทธิพลอีกครั้งประกอบกับเอกลักษณ์ของแนวดนตรีที่น่าสนใจ จึงเกิดเป็นแรงบันดาลใจให้เขาได้เริ่มถ่ายภาพนักดนตรีประเภทนี้
Photo: Courtesy of CELINE
นับจากนั้นการบันทึกภาพในทุกคอนเสิร์ตที่เขาได้ไปดูการแสดงจึงเกิดเป็นผลงานภาพถ่ายโพลารอยด์ที่สะท้อนวิถีชีวิตของนักดนตรีวัยรุ่นชาวอังกฤษจนเกิดมาเป็นคอลเลคชั่นเสื้อผ้าของเซลีน ซึ่งหัวใจสำคัญของคอลเลคชั่นนี้ คือการตัดเย็บแบบดั้งเดิม
โดยการนำลวดลายทรงเหลี่ยมบนผืนผ้าจากคอลเลคชั่นเก่าของ CELINE มาดัดแปลงให้ทันสมัยมากขึ้น เช่น เสื้อโอเว่อร์โค้ตที่ทำจากผ้าทวีด ผ้าดอนิกอล และผ้าแคชเมียร์สวมทับสูทตัดเย็บของ CELINE หรือแจ็คเก็ตหนัง ซึ่งการทำคอลเลคชั่นนี้ได้นิยามความเข้าใจของเขาถึงสัดส่วนเสื้อผ้าในรูปแบบของ CELINE
Photo: Courtesy of CELINE
นอกจากนี้ เขาได้เริ่มออกแบบไอเดียทรงผมในแฟชั่นโชว์ให้เป็นเหมือนทรงกะลาครอบ ซึ่งถือเป็นความพิเศษที่ได้สร้างความโดดเด่นสำหรับแฟชั่นโชว์ผู้ชายครั้งแรกของ CELINE ทั้งนี้เขาได้ใช้เวลาหลายเดือนในช่วงฤดูใบไม้ร่วงเพื่อสร้างสรรค์แฟชั่นโชว์ พร้อมกับเฟ้นหานายแบบอิสระ และใช้เวลาว่างช่วงนั้นเพื่อไปชมคอนเสิร์ตต่าง ๆ ที่เขาโปรดปราน
โดยเขาได้ถ่ายภาพวง CRACK CLOUD ในโชว์ที่ลอนดอน ช่วงเดือนตุลาคม ซึ่งดนตรีที่ได้ทำการแสดงประกอบกับจังหวะและทำนองเหมือนถูกแต่งมาเพื่อใช้ในแฟชั่นโชว์ครั้งนี้โดยเฉพาะCELINE จึงขอให้ทางวง CRACK CLOUD แต่งเพลงเพื่อใช้สำหรับเปิดในแฟชั่นโชว์ โดยมีชื่อเพลงว่า “PHILOSOPHER’S CALLING”
Photo: Courtesy of CELINE
ในส่วนของการแสดงแซกโซโฟน เมื่อการแสดงได้เริ่มต้นขึ้นทำให้หวนนึกถึง เจมส์ แชนส์ บุคลลที่เขาได้ตามถ่ายภาพเมื่อหลายปีก่อน ซึ่งเขาได้ยกย่องเจมส์ ชานส์ ให้เป็นบุคคลต้นแบบสไตล์โพสต์พังก์ระดับตำนาน และเขาต้องการสร้างคอนเนคชั่นระหว่างสองเจเนอร์เรชั่นจึงเชิญให้เจมส์มาร่วมแสดงกับวง CRACK CLOUD ในแฟชั่นโชว์ผู้ชายครั้งแรกของ CELINE