เมื่อความเครียดไม่ใช่เรื่องธรรมดา

BY Poy T.

  • 21 มิถุนายน 2561
  • 2,719

ความเครียดคำที่คุ้นเคยกันดีในทุกเพศทุกวัยและสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกเรื่องไม่ว่าจะเป็น เรื่องงาน การเรียน ความรัก ครอบครัว การกังวลเกี่ยวกับการเจ็บไข้ได้ป่วย หรืออะไรก็ตามถ้าคนจะเครียดยังไงก็เครียด แต่ถ้ามันเป็นแค่ความเครียดที่เข้ามาแล้วหายไปพร้อมความคลี่คลายของทุกเหตุการณ์ก็คงไม่น่ากังวลอะไรแต่ถ้ามันกลายเป็นโรคเครียดที่สามารถเข้ามาทำลายชีวิตของคุณได้มากกว่าที่คิดล่ะคุณจะมีวิธีรับมือกับมันอย่างไร


สูดหายใจลึก ๆ ก่อนจะรักษาเราต้องรู้จักกับมันให้ดีก่อนว่าลักษณะของคนที่เข้าข่ายจะเป็นโรคเครียดนั้นจะมีอาการอย่างไรบ้าง แล้วเช็คไปเช็คมาเกิดเป็นจริง ๆ ล่ะจะมีวิธีการรักษาอย่างไรได้บ้างแล้วใช้ชีวิตอยู่กับมันในชีวิตประจำวันอย่างไรกันดี เรามาเรียนรู้ไปพร้อม ๆ กันดีกว่า

  

ก่อนอื่นมาเช็คอาการกันก่อน

โรคเครียดนั้นอาจะเกิดมาได้จากหลายสาเหตุไม่ว่าจะเกิดจากการที่คุณดันไปเจอกับเหตุการณ์อะไรก็ตามที่กระทบกระเทือนกับจิตใจมากๆ จนมันฝั่งใจแปรผันกลายมาเป็นโรคเครียด หรืออาจจะมาจากความเครียดสะสมที่เครียดมาเป็นเวลานานโดยพอรู้ตัวอีกทีก็กลายเป็นโรคเครียดกันไปซะแล้ว


ถ้าคุณเป็นโรคเครียดความรู้สึกกลัว หวาดระแวง ตื่นตระหนัก ฟุ้งซ่าน ว้าวุ้น อาจจะเกิดขึ้นบ่อยๆ ได้โดยที่คุณเองอาจจะไม่เคยเป็นมาก่อนก็ได้ และแน่นอนว่าไม่ใช่ทุกคนที่จะรู้สึกเครียดไปกับเรื่องเดียวกันพื้นฐานของการเกิดความเครียดก็มาจากพื้นฐานของแต่ละคนด้วยเช่นกัน

 

 

อาการหลัก ๆ ของคนเป็นโรคเครียดจะแสดงออกมาทันทีเมื่อต้องเผชิญกับสถานการณ์ที่เครียด

 

- เห็นภาพเหตุการณ์ร้ายแรงที่สะเทือนใจอยู่ซ้ำๆ
-
อารมณ์ขุ่นมัว รู้สึกสิ่งส่วนใหญ่ในชีวิตไปในทางลบ
-
มีพฤติกรรมแยกตัว รวมไปถึงหลงๆ ลืมๆ ไม่ค่อยมีสติหรือบางคนอาจจะมากถึงขั้นเดินช้าลงเลยก็ได้
-
พยายามหลีกเลี่ยงสิ่งต่างๆ ยิ่งสิ่งที่รู้สึกว่าอาจจะใกล้กับสถานการณ์ความเครียดยิ่งจะรีบหนีออกมา
-
ไวต่อสิ่งเร้า ถ้าหลับอยู่แล้วโดนกวนก็ตื่นขึ้นมาง่ายมากแถมยังหลับต่อยาก โมโห ก้าวร้าว หงุดหงิด

 

 

ถ้าเป็นโรคเครียดแล้วจะมีผลกระทบกับคุณหลายด้านด้วย

ไม่ใช่แค่สภาพจิตใจของคุณเท่านั้นที่จะได้รับผลกระทบจากความเครียดแต่ยังมีทางด้านร่างกาย พฤติกรรม อารมณ์ความรู้สึก อีกด้วยที่จะปรับเปลี่ยนตามไปซึ่งบางทีข้อด้านบนคุณอาจะยังไม่สามารถจับผิดร่างกายได้ว่าสรุปคุณเป็นโรคเครียดหรือไม่ ถ้าเป็นอย่างนั้นเราลองมาเช็คกันต่อกับการเปลี่ยนแปลงในด้านต่างๆ ของร่างกายกันดีกว่า
ด้านร่างกาย

 

- กล้ามเนื้อหด ส่งผลต่อหลัง ปวดหลัง เจ็บขากรรไกร มีปัญหาเอ็นกระดูกเพิ่ม
-
ความดันสูง ใจเต้นแรง ใจสั่น เหงื่ออกง่าย เวียนหัว ปวดหัว หายใจไม่ทั่วท้อง เจ็บหน้าอก
-
เพลียมาก เพลียตลอดแม้ในบางครั้งก็อาจจะไม่ได้ทำอะไร
-
ความรู้สึกทางเพศลดลง
-
รู้สึกไม่ดีบริเวณท้อง ในส่วนนี้เป็นได้หลายอาการหรือบางคนชอบเรียกว่าหวิวๆ ท้องก็เป็นได้
-
นอนหลับยาก ตื่นยาก ไม่สดชื่น

 

 

ด้านอารมณ์และความรู้สึก

 

- กังวล ฟุ้งซ่าน ในทุกๆ เรื่อง หรือบางครั้งแม้แต่เรื่องไร้สาระก็ทำร้ายคุณได้
-
รู้สึกทำอะไรก็กดดันไปหมดแม้จะเป็นแค่เรื่องง่ายๆ ที่คุณอาจไม่เคยมีปัญหาเลยด้วยซ้ำ
-
ไม่มีสมาธิ ทำอะไรก็ไม่ได้นาน ลนลานตลอดเวลา
-
เศร้า หดหู่ รู้สึกไร้ค่า
-
อารมณ์ขึ้นๆ ลงๆ เปลี่ยนง่ายมากในเวลาที่ห่างกันเพียงไม่นาน

 

 

ด้านพฤติกรรม

 

- ทานเยอะขึ้นมากหรือไม่ก็น้อยลงมากไม่เหมือนคนเดิม
-
ถ้าได้โกรธหรือหงุดหงิดอาจลามไปถึงขั้นอาละวาดและรุนแรงมากเลยก็ได้
-
เริ่มหันไปหาทางแก้เครียดไม่ว่าจะดื่มเยอะขึ้น สูบเยอะขึ้น หรือหนักจนอาจอยากพึ่งยาเสพติด
-
ไม่อยากเข้าสังคม เบื่อรอบข้าง และไม่อยากสนใจอะไรทั้งนั้น

การเปลี่ยนแปลงด้านบนเป็นแค่เพียงส่วนหนึ่งที่อาจจะยังใช้ในการตัดสินไม่ได้ 100% ว่าคุณกำลังเป็นโรคเครียด ลองทำแบบทดสอบความเครียดมาฝากกันหลากหลายเว็บไซต์เลยทีเดียว http://www.manarom.com/qsocial.php , https://www.dmh.go.th/test/qtest5/ , http://guidance.obec.go.th/?p=316 , http://www.jvkk.go.th/jvkkfirst/test.htm , https://www.bangkokhospital.com/index.php/th/diseases-treatment/tests-mental-health

ลองเข้าไปทดสอบกันเล่น ๆ อย่างน้อยก็ได้ลองเช็คตัวเองกันดูก่อนแล้วถ้าเริ่มรู้ทันว่าเข้าใกล้โรคเครียดก็ขอให้คุณรู้เอาไว้ว่ามันไม่ใช่เรื่องที่น่ากลัวแต่อย่างใด เพียงแค่ยอมรับความจริงและพร้อมที่จะต่อสู้กับมันเพื่อทวงคืนชีวิตที่มีความสุขของคุณกลับคืนมานั่นเอง